ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ
(Operant
Conditioning Theory)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEimRjeBOcu9Kl4-NkLVxkRrRvLHVBRiW9E6SnzaBMTTW6826puq9U5GUUQwfudQrxLixlwHd3pMLk1JDnhuVdigAlBYgNCv8vdEndDNABhmOQItVMooRIIiYKNF4Kza8y5GyzhZXGaup1A/s200/110192-004-36256FAE.jpg)
Burrhus Skinner
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant
Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F.
Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950
สหรัฐอเมริกาได้เกิดวิกฤติการการขาดแคลนครูที่มีประสิทธิภาพเขาจึงได้คิดเครื่องมือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ
เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม(Program
Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching
Machine) เป็นที่นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน
หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner) กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม
และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น
ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น
ดังจะเห็นได้จากแผนภาพนี้
A คือ สภาพแวดล้อม
S คือ สิ่งเร้า
R คือ การตอบสนอง
C คือ
ผลกรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมที่เกอดขึ้นโดยที่
C+ เป็นผลกรรมที่ผู้กระทำพึงพอใจ
C- เป็นผลกรรมที่ผู้กระทำไม่พึงพอใจ
จากแผนภาพ จะเห็นได้ว่า
ในสภาพแวดล้อมมีสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้กระทำแสดงพฤติกรรมออกมา ซึ่งพฤติกรรมนั้น
จะมีผลกรรมตามมาและผลกรรมนั้นทำให้อาจจะเพิ่มขึ้นหรือระดับคงที่หรือลดลง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าถ้าเป็นผลกรรมพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ
ขั้นตอนการทดลองของสกินเนอร์
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEha1D_fuH7nLQDuyNnt7ddQLF3d1RETYrANF_ajKmxVGvVgQz7BVJQzFn4tERhipGH8I4cjmLnfgUhhaFziXNZhc2q6TFZaVOF88PTHeXfOlpmjv72K-yqFTRJWe9fIjQqKgncSdwPwA9wy/s400/%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B9.jpg)
ขั้นที่ 1 เตรียมการทดลอง
ทำให้หนูหิวมาก ๆ เพื่อสร้างแรงขับ (Drive) ทำให้เกิดขึ้น
ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะผลักดันให้แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามก็ต้องให้หนูคุ้นเคยกับกล่องของสกินเนอร์
ขั้นที่ 2 ขั้นการทดลองเมื่อหนูหิวมาก
ๆ สกินเนอร์ปล่อยหนูเข้าไปในกล่องสกินเนอร์ หนูจะวิ่งเปะปะและแสดงอาการต่าง ๆ เช่น
การวิ่งไปรอบ ๆ กล่อง การกัดแทะสิ่งต่าง ๆ
ที่อยู่ในกล่องซึ่งหนูอาจจะไปแตะลงบนคานที่มีอาหารซ่อนไว้
หนูก็จะได้อาหารกินจนอิ่มและสกินเนอร์สังเกตเห็นว่า
ทุกครั้งที่หนูหิวจะใช้เท้าหน้ากดลงไปบนคานเสมอ
ขั้นที่ 3
ขั้นทดสอบการเรียนรู้สกินเนอร์จะจับหนูเข้าไปในกล่องอีก หนูจะกดคานทันที แสดงว่าหนูเกิดการเรียนรู้แล้วว่า
การกดคานจะทำให้ได้กินอาหาร
สรุปจากการทดลองนี้แสดงว่า
การเรียนรู้ที่ดีจะต้องมีการเสริมแรง
กฎแห่งการเรียนรู้
กฎการเรียนรู้ของสกินเนอร์ก็คือ
กฎการเสริมแรง ซึ่งมีอยู่ 2 เรื่อง คือ
1. ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedule of
Reinforcement) เป็นการใช้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น เวลาพฤติกรรม
เป็นตัวกำหนดในการเสริมแรง
2. อัตราการตอบสนอง (Response Rate) เป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากการเสริมแรงต่าง ๆ
ซึ่งเกิดขึ้นมากน้อยและนานคงทนถาวรเท่าใด ย่อมแล้วแต่ตารางกำหนดการเสริมแรงนั้น ๆ
เช่น ตารางกำหนดการเสริมแรงบางอย่าง
ทำให้มีอัตราการตอบสอนงมากและบางอย่างมีอัตราการตอบสนองน้อยเป็นต้น
การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1
คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
เช่นทึกครั้งที่ผู้เรียนตอบคำถามถูก ครูจะรีบเสริมแรงทันที อาจเป็นคำชม
เครื่องหมายรูปดาว เป็นต้น ซึ่งเหมาะในการใช้กับเด็กเล็ก เช่น ชั้นอนุบาล ประถม
ส่วนกฎที่ 2 คือกฎการเสริมแรงเป็นครั้งเป็นคราวมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้นานต่อไปเรื่อย
ๆ แล้วแต่จะเหมาะสมของผู้เรียน และโอกาสที่จะใช้ซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็กโต เป็นต้น
2. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Learning) บทเรียนสำเร็จเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1954
จากแนวความคิดของสกินเนอร์ จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขในห้องเรียน
ผู้เรียนแต่ละคนได้รับการเสริมแรงน้อยและยังห่างจากเวลาที่แสดงพฤติกรรม
เป็นเวลานานเกินไปจนขาดประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหานี้เขาจึงเสนอบทเรียนสำเร็จรูป
โดยมีจุดประสงค์ว่าผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีที่แสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องบทเรียนจะแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยและข้อย่อย
ๆ มี 2 ลักษณะ คือ
2.1
การจัดเรียงบทเรียนเป็นเส้นตรง (Linear Programming) ลำดับขั้นของบทเรียนจากง่ายไปยาก
โดยเริ่มจากหน่วยแรกไปเรื่อยตามลำดับโดยถือว่าการเรียนขั้นแรกเป็นพื้นฐานของขั้นตอนต่อไปและมีคำถามในลักษณะเติมคำในช่องว่างให้ผู้เรียนตอบ
มีคำเฉลยไว้ก่อนเมื่อตอบแล้วจึงเปิดดู เหมาะสำหรับวิชาที่เรียงตามลำดับขั้นตอน
2.2 บทเรียนที่มีเป็นตอน (Branching
Programming) เป็นบทเรียนที่ผู้เรียนมีโอกาสทีได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมในกรณีที่ตอบคำถาไม่ถูก
ส่วนวิธีเรียนก็เรียงจากง่ายไปยากแต่ลักษณะคำถามจะเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple
Choice) เมื่อผู้เรียนตอบคำถามหมดแล้วจึงพลิกไปดูคำเฉลย
2.3 การปรับพฤติกรรม (Behavior
Modification) คือการปรุงแต่งพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการซึ่งมี
3ลักษณะคือ
2.3.1
การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสมไว้
2.3.2 การสร้างเสริมพฤติกรรมใหม่
2.3.3 การลดพฤติกรรม
2.4 การสอนวิธีการพูด
หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมทางวาจา (Verbal Behavior) สกินเนอร์ได้ผลิตเครื่องบันทึกเสียงขึ้นในปี
ค.ศ. 1963 เพื่อใช้ฟังเสียง การอ่านการพูดซึ่งเป็นประโยชน์มากในวงการด้านภาษา
เข้ากล่าวว่า ภาษาพูดเกิดขึ้นจากการเรียนรู้เมื่อได้รับการเสริมแรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น