การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้
การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรงประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ
ๆ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่1ขั้นนำ
1.1
ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนและระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2
ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียนและความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าวๆ
1.3
ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 2
ขั้นนำเสนอบทเรียน
2.1
หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระข้อความรู้หรือมโนทัศน์ผู้สอนควรกลั่นกรองและสกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้นและนำเสนออย่างชัดเจนพร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจต่อไปจึงสรุปค้านิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2
ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติเรียนยังไม่เข้าใจต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อนขั้นที่
3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ (structured
practice)
ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่างผู้เรียนปฏิบัติตามผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับให้การเสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4
ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ (guided practice)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่างๆผู้สอนจะสามารถประเมินการอยนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียนและช่วยเหลือผู้เรียนโดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง
ๆ
ขั้นที่ 5
การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent practice)
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4
ได้ถูกต้องประมาณ 85-90% แล้ว
ผู้สอนควรปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ
เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญและการเรียนรู้อยู่คงทน ผู้สอนไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที
สามารถให้ภายหลังได้การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียว
ควรมีการฝึกเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนนานขึ้น
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
การเรียนการสอนแบบนี้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนตรงไปตรงมาผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านพุทธิพิสัยและทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาจำกัดไม่สับสนผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตาม
ความสามารถของตนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียนและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
การเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิสท์
(constructivism)
ที่เปลี่ยนแนวคิดในการจัดการศึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ซึ่งระบุจุดประสงค์ (Domains of objective) ระดับความรู้
(Level of Knowledge) และการให้แรงเสริม (Reinforcement)
เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่เน้นทฤษฎีความรู้ความคิด (Cognitive
theory) ที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ของตนเอง Construct
their own knowledge) จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Gagnon
& Collay 2001: 1)
ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์และระเบียบแบบแผนทางความคิดของผู้เรียนแต่ละคนการเรียนรู้ตามแนวคอนตรัคติวิสท์
มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่คลุมเครือทฤษฎีการเรียนรู้แบบคอนตรัคติวิสท์
สนใจศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเองเมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นบุคคลจะใช้โครงสร้างทางปัญญา
(cognitive structure) ที่มีอยู่เดิมทำปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือเพื่อน
ๆ ที่อยู่รอบข้างความขัดแย้งทางปัญญาจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการต่อไตร่ตรอง (reflection)
อันเป็นกิจกรรมของการตรวจสอบและปรับเปลี่ยนสมมติฐานทางความคิดด้วยเหตุและผลซึ่งนำไปสู่การสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาต่อไปการ
จัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสร้างความต่อเนื่องระหว่างข้อมูลสนเทศใหม่กับความรู้เดิมการเรียนรู้เป็นผลของการผลิตหรือสร้างสรรค์ทางปัญญา
มนุษย์จะเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุดถ้าหากได้ลงมือสร้างความหมายหรือความเข้าใจของตนด้วยตนเองการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนสร้างโครงสร้างความรู้หรือความเข้าใจอย่างแข็งขันและมีเจตนามุ่งมั่นชัดเจน
โดยผู้เรียนจะสลายความขัดแย้ง (Conflict Resolution) หรือความไม่เข้ากันของแนวคิดหรือข้อมูลต่างโดยการพินิจพิเคราะห์คำอธิบายหรือเหตุผลเชิงทฤษฎีมนุษย์สร้างโลกทัศน์ของตนเองขึ้นจากประสบการณ์จริงในเวลานั้นและโครงสร้างความรู้เดิมที่อยู่ในรูป
Schema มนุษย์ใช้ Schema ในการตีความหรือสร้างความหมายให้กับประสบการณ์หรือข้อมูลใหม่เมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้นจะมีการปรับ
Schema ให้มีความครอบคลุม
และมีประสิทธิภาพในการตีความที่สูงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น