การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active
learning)
คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา อธิบายว่า การเรียนรู้เชิงรุก (active
learning) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้
เรียนมีบทบาทในกิจกรรมการเรียนอย่างตื่นตัวและมีชีวิตชีวา
เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนริเริ่มและดำเนินการเรียนรู้อย่างใส่ใจ
จดจ่อกับเนื้อหาและเรื่องที่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการ
โดยมีการริเริ่มความคิด สร้างความรู้ มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
และแสดงออกไม่ว่าจะเป็นท่าทางหรือวาจา มิใช่เป็นเพียงผู้รับความรู้เท่านั้น
ผู้สอนต้อง มีบทบาทในการเร้าความสนใจและสร้างบรรยากาศในการเรียน
โดยใช้กลยุทธ์แตกต่างกันไปตามสถานการณ์
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสามารถทำได้ทั้งในและนอกห้องเรียน
รวมทั้งสามารถใช้ได้กับผู้เรียนทุกระดับ
ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและการเรียนรู้แบบกลุ่ม
การจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาวิชา บุคลิกภาพของผู้สอน ลักษณะของผู้เรียนรวมทั้งสภาพแวดล้อม เช่น
การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน การเรียนรู้เชิงประสบการณ์
การเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้แบบสืบสอบ การเรียนรู้แบบค้นพบ
วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้มีพื้นฐานมาจากแนวคิดสำคัญ
คือให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเรียนรู้ของตนเอง
การเรียนรู้เชิงรุกเป็นการเรียนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
ส่วนผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
ซึ่งทำให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ พัฒนาความสามารถ
เกิดเจตคติที่ดีและมีประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้เชิงรุกช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ จดจำ
และประมวลผลข้อมูลที่เรียน และทำให้บทเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนมีความหมาย
และน่าสนใจทั้งผู้สอนและผู้เรียน
กระบวนการเรียนรู้ Active
Learning
การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่าหรือ สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 70%
- การนำเสนองานทางวิชาการ
เรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง
มีการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง 90%
ลักษณะของ Active
Learning (อ้างอิงจาก :ไชยยศ เรืองสุวรรณ)
- เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
- ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
- ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน
การมีวินัยในการทำงาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
- เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน
พูด ฟัง คิด
- เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
- เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล
ข่าวสาร สารสนเทศ และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอด
-
ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
- ความรู้เกิดจากประสบการณ์
การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
บทบาทของครู
กับ Active
Learning
ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ (2550) ได้กล่าวถึงบทบาทของครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางของ Active
Learning ดังนี้
- จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน
กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน
-
สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม
และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
- จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย
และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย
- วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม
- ครูผู้สอนต้องใจกว้าง
ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดของผู้เรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น