การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
แอนเดอร์สันและแครอทโอล (2001) ได้ปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
(Blooms’
Taxonomy revise) ดังตารางเปรียบเทียบ
![à¸à¸¥à¸à¸²à¸£à¸à¹à¸à¸«à¸²à¸£à¸¹à¸à¸ าà¸à¸ªà¸³à¸«à¸£à¸±à¸ à¸à¸²à¸£à¸à¸£à¸±à¸à¸à¸£à¸¸à¸à¸à¸¸à¸à¸¡à¸¸à¹à¸à¸«à¸¡à¸²à¸¢à¸à¸²à¸£à¸¨à¸¶à¸à¸©à¸²à¸à¸à¸à¸à¸¥à¸¹à¸¡](https://sirikanya926.files.wordpress.com/2014/01/blooms_old_new.jpg)
การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษา
(Revised's
Bloom Taxonomy) ทีกล่าวถึงมิติทางการเรียนรู้ของ Bloom และคณะ (1956) ซึ่งแอนเดอร์สันและเเครธโธล (Anderson &
Krathwohl, 2001)
ได้กล่าวถึงรายละเอียดของพฤติกรรมผู้เรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้ (Leaning
Outcome) โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา (Cognitive
Dimension Process) และ 2) มิติด้านความรู้ (Knowledge
Dimension) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา ได้แก่ การจำ (remembering)
เรียกความรู้จากหน่วยความจำระยะยาว ความเข้าใจ (Understanding)
ศึกษาความหมายจากข้อมูลที่เรียนรู้ รวมถึงการพูด
การเขียนและการสื่อสารด้วยรูปร่าง ประยุกต์ใช้(Applying) ประยุกต์ขั้นตอน/กระบวนการในงานที่คุ้นเคย
วิเคราะห์(Analyzing) จำแนกองค์ประกอบและหาความสัมพันธ์เพื่อกำหนดโครงสร้างหรือเป้าหมายใหม่
ประเมิน (Evaluating) ตัดสินบนพื้นฐานของเกณฑ์และมาตรฐาน
และสร้างสรรค์ (Creating) จัดองค์ประกอบหรือหน้าที่ให้เชื่อมโยงกันไปสู่รูปแบบหรือโครงสร้างใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น