การตรวจสอบทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ปฏิบัติการเขียนแผน จัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ the STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง
กับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกําหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน
การออกแบบที่เป็นสากลในการเรียนการสอน (Universal Design for Instruction :UDI)
การนําแนวคิด UD มาใช้โดยเป็นการประยุกต์เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่มี
ความต้องหลากหลาย โดยมีหลักการว่า UD นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจว่า
ผู้เรียนแต่ละคนมี ลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วย
ซึ่งการนํา UD ไปใช้ในการศึกษากเพื่อ
สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน
และส่งเสริมให้ ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่ตามศักยภาพ (Eagleton, 2008)
รูปแบบ the STUDIES Model
รูปแบบ The STUDIES Model มี 7
ขั้นตอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
S
: กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting learning
goals) การกําหนดจุดหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนต้อง
ระบุจุดหมายการเรียนรู้(goals) ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ
โดยการระบุ ความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ(procedural
knowledge) จุดหมาย การเรียนรู้ไม่ได้ถูกจํากัดด้วยจํานวนของบทเรียน
ปริมาณเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุด แต่หมายถึงความ
คาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
T
: วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้ (knowledge) ทักษะ (Skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนําทางผู้เรียนไปสู่ จุดหมายการเรียนรู้
การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill
Attitudes
U
: การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal
Design for Instruction UDI) เป็นการ
ออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือ ชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา(educational
products (computers, websites, Software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union
buildings, libraries, and distance learning courses) ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
D
: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น
เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ
และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้
การทํางาน และชีวิตประจําวัน
I
: การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ ต่าง ๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง
ในการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดย เชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
E
: การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to
Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ ของตนเอง
โดยกําหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive
Domain) ของบลูม (Bloom's Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน เป็นการ
ตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
S
: การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based Assessment
) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้ อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน
โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes
: SOLO Taxonomy) มากําหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เป็นการตรวจสอบคุณภาพ การเรียนรู้
รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ว13101
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
หน่วยที่ 1 ชีวิตสัมพันธ์
หน่วยที่ 1 ชีวิตสัมพันธ์
เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จำนวน 2 ชั่วโมง
............................................................................................................................................................................................
ตัวชี้วัด
ว 1.2 ป.3/1 อภิปรายลักษณะต่าง ๆ
ของสิ่งมีชีวิตใกล้ตัว
ว 1.2 ป.3/2
เปรียบเทียบและระบุลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูก
ว
1.2 ป.3/3
อธิบายลักษณะที่คล้ายคลึงกันของพ่อแม่กับลูกว่าเป็นการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว 8.1 ป.3/1
ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ
ว
8.1 ป.3/2 วางแผนการสังเกต
เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบ ศึกษาค้นคว้า โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม
และคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
ว 8.1 ป.3/3 เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์
เครื่องมือที่เหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบ และบันทึกข้อมูล
ว
8.1 ป.3/4 จัดกลุ่มข้อมูล
เปรียบเทียบกับสิ่งที่คาดการณ์ไว้และนำเสนอผล
ว
8.1 ป.3/5
ตั้งคำถามใหม่จากผลการสำรวจตรวจสอบ
ว
8.1 ป.3/6 แสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มนำไปสู่การสร้างความรู้
ว
8.1 ป.3/7 บันทึกและอธิบายผลการสังเกต
สำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริงมีแผนภาพประกอบคำอธิบาย
ว
8.1 ป.3/8 นำเสนอ จัดแสดงผลงาน
โดยอธิบายด้วยวาจา และเขียนแสดงกระบวนการ
สาระสำคัญ
ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ความหมายของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
และ ตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยศึกษาด้วยการใช้วิธีการสืบสอบ
รูปแบบวงจร การเรียนรู้ 5E เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และการใช้คำถาม และประเมินตามสภาพจริง
สาระการเรียนรู้
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม หมายถึง
การถ่ายทอดลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตจากพ่อแม่สู่ลูก
ซึ่งลักษณะบางอย่างที่ได้รับการถ่ายทอดอาจเหมือนหรือแตกต่างจากพ่อแม่
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ สังเกตได้จากลักษณะต่าง ๆ ของมนุษย์ ดังนี้
![](https://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/teacher1/Sci_P3_1.png)
สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
1.
ความสามารถในการสื่อสารการอ่าน การเขียน การอธิบาย การพูดหน้าชั้นเรียน
2. ความสามารถในการคิด การสังเกต
การจำแนกประเภท การคิดวิเคราะห์ การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ การสร้างคำอธิบาย การสื่อความหมาย
การสืบค้นโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของครอบครัว
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. ซื่อสัตย์
2. มีวินัย
3. ใฝ่เรียนรู้
4. มุ่งมั่นในการทำงาน
จุดประสงค์การเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด
1. สืบค้นลักษณะการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของพ่อแม่สู่ลูก
(P)
2.
บอกความหมายของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ (K)
3.
ยกตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ (K)
4.
อธิบายลักษณะที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ (K)
5.
เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิดช่างสงสัย
และเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหาความรู้ (A)
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่
1 สร้างความสนใจ
(engagement)(5 นาที)
1. ครูแสดงภาพสัตว์ที่เป็น แม่ ลูก (ยกตัวอย่างภาพสุนัขพ่อ
แม่ ลูก) ให้นักเรียนพิจารณาประกอบ การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน
ดังนี้
1.1
นักเรียนคิดว่าสุนัขในภาพน่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น
(เป็นพ่อ แม่ ลูกกัน เพราะสุนัขมีสีเหมือนกัน ลักษณะหน้าตาคล้ายกัน
รูปร่างคล้ายกัน)
1.2 ลักษณะที่ปรากฏกับลูกสุนัขมาจากไหน
(มาจากพ่อและแม่ของสุนัข)
2.
ครูตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
โดยให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยใช้คำถาม ดังนี้
2.1 นักเรียนมีลักษณะใดเหมือนพ่อบ้าง
(ตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและดุลยพินิจของครูผู้สอน)
2.2
นักเรียนมีลักษณะใดเหมือนแม่บ้าง(ตามประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
และดุลยพินิจของครูผู้สอน)
2.3
นักเรียนมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนหรือแตกต่างจากพ่อแม่(มีทั้งเหมือนและแตกต่างจากพ่อแม่
แต่ลักษณะที่แตกต่างไปจากพ่อแม่อาจมีลักษณะที่ถ่ายทอดมาจากปู่ ย่า ตา ยายได้)
2.4
ลักษณะทางพันธุกรรมคืออะไร(ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก
เช่น สีตา สีผม ความสูง สีผิว)
2.5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร(การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะบางอย่างของสิ่งมีชีวิตจากพ่อแม่สู่ลูก)
3.
ให้นักเรียนตอบคำถามลงในกระดาษที่ครูเตรียมให้ จากนั้นครูกล่าวว่า
วันนี้เราจะเรียนเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมกัน
ขั้นที่
2
สำรวจและค้นหา (exploration)(20 นาที)
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม
จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาและสืบค้นความหมายของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
และลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ที่สามารถถ่ายทอดได้ จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น
อินเทอร์เน็ต
2. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
ออกแบบและนำผลการสืบค้นมาจัดทำในรูปแบบแผนภาพให้น่าสนใจ
ขั้นที่
3 อธิบายและลงข้อสรุป
(explanation)(20 นาที)
1.
ให้ผู้แทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการสืบค้นหน้าชั้นเรียน
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
2.
ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการนำเสนอของแต่ละกลุ่มในประเด็น ดังนี้
-
ความเหมือนและความแตกต่างเกี่ยวกับความหมาย
และลักษณะการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์
3. ครูอธิบายเพิ่มเติม
แล้วชมสื่อดิจิตอลเสริมการเรียนการสอน 8 สาระของทรูปลูกปัญญา ชั้นประถมศึกษาปีที่
3 ทำไมลูกจึงเหมือนพ่อแม่
4.
ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับความหมายของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
และลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์ที่สามารถถ่ายทอดได้
ให้ได้ประเด็นตามจุดประสงค์การเรียนรู้
ขั้นที่
4 ขยายความรู้ (elaboration)(10 นาที)
1. ให้นักเรียนสืบสอบและเขียนแผนภาพ
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของครอบครัวของฉัน จัดทำเป็นชิ้นงานให้ได้ลักษณะ
ดังนี้
![](https://www.trueplookpanya.com/data/product/media/KNOWLEDGE/picknowledge/Sci_P3_2.png)
ขั้นที่
5 ประเมิน (evaluation)(5 นาที)
1. ให้นักเรียนประเมินผลตนเองโดยพูดแสดงความรู้สึกหลังการเรียนในประเด็น
ดังนี้
1.1
สิ่งที่ได้จากการเรียน
1.2
สิ่งที่ประทับใจในการเรียน
1.3
สิ่งที่ต้องการทราบเพิ่มเติม
2. ครูประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน
ดังนี้
สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะทำงานร่วมกัน
สังเกตการตอบคำถามของนักเรียนในชั้นเรียน
ศึกษาผลการประเมินตนเองของนักเรียนจากการพูดแสดงความรู้สึกหลังเรียน ประเมินการสืบค้น
ประเมินแผนภาพ และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้แบบประเมินตามสภาพจริง
Did you hear there is a 12 word sentence you can speak to your man... that will induce deep emotions of love and impulsive attraction to you buried inside his heart?
ตอบลบThat's because hidden in these 12 words is a "secret signal" that fuels a man's instinct to love, worship and care for you with all his heart...
=====> 12 Words That Fuel A Man's Desire Instinct
This instinct is so built-in to a man's brain that it will drive him to try harder than ever before to to be the best lover he can be.
Matter-of-fact, fueling this influential instinct is so essential to achieving the best ever relationship with your man that once you send your man a "Secret Signal"...
...You will soon find him open his heart and soul to you in a way he haven't expressed before and he will recognize you as the only woman in the galaxy who has ever truly attracted him.