วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การตรวจสอบและทบทวน


การตรวจสอบและทบทวน

          
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ (rubrics) ซึ่งอาจใช้แนวทางการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomny การเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน หรือแนวทางอื่นๆ
การกำหนดเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้โดยใช้ The SOLO Taxonomy
          เสนอโดย Biggs และ Collis โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ The SOLO Taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่างๆของคำถามและคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน ซึ่งจะไม่เน้นที่ผลงานเท่านั้น แต่ยังเน้นที่วิธีการเรียนรู้ด้วยโครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดย Biggs และ Collis ได้เสนอวิธีการดังนี้
          1. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน
          2. ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
เมื่อเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่าคำกริยาที่นำมาใช้เหมาะสมกับแต่ละระดับ
          ระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Pre-structural) ไม่มีการจัดระเบียบข้อมูล ความหมายโดยรวมของข้อมูลยังไม่ปรากฎ
          ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) เชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน แต่ไม่แสเดงความหมายเกี่ยวโยงของข้อมูล
          ระดับโครงสร้างหลากลหาย (Multi-structural) มีการเชื่อมโยงข้อมูล แต่ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงข้อมูลไม่ปรากฎ
          ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมได้
          ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากข้อมูลที่ได้รับ สามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่างได้
          การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด SOLO Taxonomy เป็นการเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
              SOLO 0: ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน ไม่สำเร็จ พลาด ล้มเหลว
              SOLO 1: ระบุ บอกชื่อ ปฏิบัติตามขั้นตอนง่าย ๆ 
              SOLO 2: รวมกัน อธิบาย บรรยาย ยกตัวอย่าง เชื่อมโยง
              SOLO 3: วิเคราะห์ ประยุกต์ อธิบายเหตุผล แสดงความสัมพันธ์
              SOLO 4: สร้างสรรค์ สรุปอ้างอิง ตั้งสมมติฐาน สะท้อนทฤษฎี 

โดย SOLO1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นความรู้ ความเข้าใจ และนำไปใช้ (เชิงปริมาณ) และ SOLO3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูมในขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า (เชิงคุณภาพ) 
   SOLO : The Structure of Observed Learning Outcome คือ โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
    Taxonomy มีความหมายเดียวกับคำว่า Classification คือ การจัดแบ่งประเภท แต่ Taxonomy นั้น จะกล่าวถึง หลักทางวิชาการที่ใช้เพื่อระบุประเภทของสิ่งมีชีวิตทางชีววิทยาที่มีลักษณะร่วมกันและทำการกำหนดชื่อให้กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ    
          หากกล่าวถึงการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
          SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy
 จึงเป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย 
ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา 
ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือJohn B. Biggs และ Kelvin Collis (1982)
          แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
              1. Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้า
ใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา 
เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
              2. Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไป
ที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
              3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่
หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ 
ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
              4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆ
เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ 
อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
              5. Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยง
ความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่
 เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น

แบบประเมินความสอดคล้ององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้

คำชี้แจง  โปรดทำเครื่องหมาย /  ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน
ข้อที่
รายการประเมิน
สอดคล้อง
(1)
ไม่แน่ใจ
(0)
ไม่สอดคล้อง
(-1)
1
การเขียนสาระสำคัญมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
2
จุดประสงค์การเรียนรู้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กับสาระ  การเรียนรู้
3
หลักฐานการเรียนรู้มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนรู้
4
วิธีการวัดผลประเมินผลมีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์     การเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
5
เครื่องมือวัดผลประเมินผล มีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์การเรียนรู้  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  และสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน
6
กิจกรรมการเรียนรู้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้  ทักษะ/กระบวนการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
7
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้ มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้



เกณฑ์การประเมิน
ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้
ความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้
คะแนนระหว่าง 1 – 3  ระดับคุณภาพต้องปรับปรุง
ค่าความสอดคล้องต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
คะแนนระหว่าง 4 – 7  ระดับคุณภาพ พอใช้
คะแนนระหว่าง 8 – 10  ระดับคุณภาพ ดี


การตรวจสอบและทบทวน


การตรวจสอบและทบทวน

          
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการ 
เรียนรู้ด้วยใช้กระบวนการของทบทวนตนเองหลังสอน ที่ช่วยให้เข้าใจการเรียนการสอนในการตอบสนอง ความต้องการ 4 ประการ คือ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านค่านิยม ด้านประสิทธิผล และด้านความพึงพอใจในตนเอง

การวัดและประเมินก่อนเรียน  ระหว่างเรียน  และหลังเรียน
          ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน 3 คำนี้มีความเกี่ยวเนื่องกัน  แต่ต่างกันที่ระยะเวลาและจุดประสงค์ของการวัดและประเมิน  3 คำนี้มีความหมายทั้งในมิติที่กว้างและแคบ  ดังนี้
1. ก่อนเรียน 
          การวัดและประเมินก่อนเรียนมีจุดประสงค์เพื่อมทราบสภาพของผู้เรียน ณ เวลาก่อนที่จะเรียน เช่น
ความรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ก่อนเรียนอาจจะหมายถึง
          1.1  ก่อนเข้าเรียน  ซึ่งอาจจะตั้งแต่ก่อนเรียนระดับปฐมวัย หรือก่อนจะเริ่มเรียนหลักสูตรสถานศึกษานั้น เช่น สถานศึกษาที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 1 และ 2  ก่อนเรียนในที่นี้อาจจะหมายถึงก่อนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้น
          1.2  ก่อนเรียนช่วงชั้น  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความสำคัญกับช่วงชั้น  ให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเมื่อจบแต่ละช่วงชั้น  ก่อนเรียนในที่นี้จึงหมายถึงก่อนจะเริ่มเรียนช่วงชั้นใดช่วงชั้นหนึ่ง เช่น ก่อนเรียนช่วงชั้นที่ 2 คือ ก่อนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้น
          1.3  ก่อนเรียนแต่ละชั้น  ถึงแม้จะมีการกำหนดเป็นช่วงชั้น  แต่ชั้นเรียนหรือการเรียนแต่ละปีก็ยัง
มีความสำคัญ  โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษา  การเรียนแต่ละชั้น/ปี อาจจะหมายถึง การเรียนกับครูคนใดคนหนึ่ง (กรณีที่ครูคนเดียวสอนนักเรียนทั้งชั้นทุกวิชาหรือเกือบทุกวิชา โดยทั่วไปจะเป็นครูประจำชั้น) หรือเรียนครูกลุ่มหนึ่ง (สอนแยกรายวิชา)  การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ละชั้นจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนตลอดทั้งปี
          1.4  ก่อนเรียนแต่ละรายวิชา  มีลักษณะเช่นเดียวกับก่อนเรียนแต่ละชั้น  การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ชั้นอาจจะวัดและประเมินในภาพรวมหลายๆ วิชา  แต่การวัดและประเมินนี้  แยกวัดและประเมินแต่ละรายวิชา  โดยทั่วไปจะสอนโดยครูแต่ละคน สำหรับระดับมัธยมศึกษา  รายวิชาส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้เป็นรายภาคเรียน
          1.5  ก่อนเรียนแต่ละหน่วยการเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้เป็นการจัดหมวดหมู่เนื้อหาในสาระการเรียนรู้เดียวกัน  โดยจัดเนื้อหาเรื่องเดียวกันหรือสัมพันธ์กันไว้ในหน่วยเดียวกัน  การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ละหน่วย  เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้พื้นฐานของผู้เรียนในเรื่องหรือหน่วยนั้น ซึ่งทั้งผู้เรียนและครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยนั้นได้อย่างเหมาะสม
          1.6  ก่อนเรียนแต่ละแผนจัดการเรียนรู้  คือ การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ละครั้ง  ในหนึ่งหน่วยการเรียนรู้มักจะมีสาระที่จะเรียนรู้แยกย่อยสำหรับการสอนมากกว่า 1 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีแผนการจัดการเรียนรู้
2. ระหว่างเรียน 
          จุดประสงค์ของการวัดและประเมินระหว่างเรียน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าหรือพัฒนาการ
ของผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  จากการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน โดยเทียบกับผลการวัดและประเมินก่อนเรียน การวัดและประเมินระหว่างเรียนจะทำให้ได้ข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน  ในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูด้วย  ข้อมูลจากการวัดและประเมินระหว่างเรียนจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งผู้เรียน  ครูผู้สอน  สถานศึกษา และผู้ปกครอง  สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่แตกย่อยมาจากมาตรฐานการเรียนรู้  และเป็นข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. หลังเรียน 
          จุดประสงค์ของการวัดและประเมินหลังเรียน เพื่อตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนด้านความรู้ทักษะกระบวนการ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  จากการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน
โดยเทียบกับผลการวัดและประเมินก่อนเรียนและระหว่างเรียน  การวัดและประเมินหลังเรียนจะทำให้ได้ข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน  ในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูด้วย  ข้อมูลจากการวัดและประเมินหลังเรียนมีจุดประสงค์หลักคือใช้ในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  นอกจากนี้  การวัดและประเมินผลหลังเรียนอาจจะเป็นข้อมูลก่อนการเรียนในระดับต่อไป จึงเป็นประโยชน์ทั้งผู้เรียน  และครูผู้สอน  สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสถานการณ์


การตรวจสอบและทบทวน


การตรวจสอบและทบทวน

         ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การบูรณาการความรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หรือกระบวนการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของตน หรือประยุกต์จากทฤษฎีและหลักการทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการคิด การเผชิญสถานการณ์ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การพัฒนาทางด้านค่านิยม จริยธรรม เจตคติต่าง ๆ การพัฒนาทางด้านการคิด การปฏิสัมพันธ์และการทำงานเป็นกลุ่ม
รวมทั้งการปฏิบัติและการแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542     

แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชา ชีววิทยา                                                                   รหัสวิชา ว13101  
กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                ชั้นมัธยมปลาย
หน่วยที่ 2 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและวิวัฒนาการ
เรื่อง  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม                                       จำนวน 2 ชั่วโมง
..............................................................................................................................................................................
 ตัวชี้วัด
          1.2  ม.4-6/1   อธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม การแปรผันทางพันธุกรรม มิวเทชัน และการเกิดความหลากหลายทางชีวภาพ
          8.1  ม.4-6/1 - ม.4-6/12  

สาระสำคัญ     
          ยีนที่ควบคุมลักษณะเดียวกันอยู่บนตำแหน่งเดียวกันในโครโมโซมยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมแต่ละอย่างมีได้หลายแบบ หรือหลายแอลลีล ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนเกินกว่า 2ยีนขึ้นไป เรียกว่า มัลติเปิลอัลลีล (Multiple allele)

สาระการเรียนรู้
          สาระการเรียนรู้แกนกลาง มิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในระดับยีนหรือโครโมโซม ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ โดยมิวเทชันที่เกิดในเซลล์สืบพันธุ์ สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกและหลานได้

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน       
          ความสามารถในการสื่อสาร
          ความสามารถในการคิด
               ทักษะการคิดวิเคราะห์
               ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
               ทักษะการคิดสังเคราะห์
          ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
               กระบวนการปฏิบัติ
               กระบวนการทำงานกลุ่ม
               กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์        
          1. มีวินัย
          2. ใฝ่เรียนรู้
          3. มุ่งมั่นในการทำงาน

จุดประสงค์การเรียนรู้
          1. อธิบายทฤษฎีการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดลได้
          2. บอกการถ่ายทอดลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ได้
          3. อธิบายลักษณะทางพันธุกรรมที่ควบคุมด้วยยีนเกินกว่า 2 ยีนขึ้นไปได้

กิจกรรมการเรียนรู้       
(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ)
ชั่วโมงที่ 1
          1. นักเรียนสังเกตลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น สีผิวของมนุษย์ ลักษณะหลากหลายของพืช และสัตว์ชนิดเดียวกัน
          2. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม  กลุ่มละ 4 คน  โดยคละเพศ และคละความสามารถ เก่ง  ปานกลางค่อนข้างเก่ง ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน
          3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาเรื่อง ทฤษฎีการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล จากหนังสือเรียนแล้วร่วมกันทบทวนความรู้ มีการช่วยเหลือกันโดยคนเก่งอธิบายให้คนอ่อน        
          4. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง ทฤษฎีการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบของใบงาน
          5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย เรื่อง ทฤษฎีการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล
                     6. ครูนำคะแนนจากการทำใบงานที่ 2.1 ของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมารวมเป็นคะแนนกลุ่ม ในกรณีที่สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้คะแนนไม่เท่ากัน ให้ใช้คะแนนค่าเฉลี่ย
          7. ครูประกาศชมเชยกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด หรือติดประกาศคะแนนที่หน้าห้องเรียน เพื่อให้กำลังใจแก่นักเรียน

ชั่วโมงที่ 2
          1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษากิจกรรมพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง แยกยีนใส่เซลล์ จากหนังสือเรียน
          2. ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม และบันทึกผลของกิจกรรมและตอบคำถามหลังทำกิจกรรมเสร็จแล้วลงในใบงานที่ 2.2
          3. ครูให้นักเรียนช่วยกันสรุปผลการทำกิจกรรม 
          4. ครูให้นักเรียนศึกษากฎแห่งการแยกตัว กฎแห่งการรวมกลุ่มอิสระ การถ่ายทอดลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ และมัลติเปิลอัลลีล จากหนังสือเรียน โดยให้นักเรียนเก่งอธิบายให้นักเรียนอ่อนฟังจนเข้าใจ
          5. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 2.3 เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบของใบงาน
          6. นักเรียนทำกิจกรรมนำคิด จากหนังสือเรียน  เป็นการบ้าน

การวัดและประเมินผล 

วิธีการ 
เครื่องมือ 
เกณฑ์ 
 ตรวจใบงานที่ 2.1
 ใบงานที่ 2.1
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 2.2
 ใบงานที่ 2.2
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 ตรวจใบงานที่ 2.3
 ใบงานที่ 2.3
 ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล
 ระดับคุณภาพ ผ่านเกณฑ์
 สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
 ระดับคุณภาพ ผ่านเกณฑ์

สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
          1. หนังสือเรียน  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิตม.4-ม.6
          2. ใบงานที่  2.1เรื่อง ทฤษฎีการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล
          3. ใบงานที่ 2.2 เรื่อง แยกยีนใส่เซลล์
          4. ใบงานที่  2.3  เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แหล่งการเรียนรู้
 - ห้องสมุด