วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน



การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

          คำว่าสื่อมีความหมายกว้างมากการเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอนตำราเทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ media มาจากภาษาละติน หมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (Intermediate หรือ middel) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชนเป็นพาหนะของการโฆษณาดังนั้นเมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้ว 4 จึงหมายถึงสิ่งที่เป็นพาหนะนำความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดไปสู่ผู้รับเช่นวิทยุโทรทัศน์ภาพยนตร์รูปภาพวัสดุฉายสิ่งพิมพ์และสิ่งดังกล่าวนี้เพื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอนเราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
          กลวิธีการสอนและการตัดสินใจเลือกซื้อเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันและควรจะทำไปพร้อมกันหลังจากที่ได้มีการกำหนดจุดหมายและวิเคราะห์ภาระงานแล้วแบบจำลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความเรียบง่ายและแบบที่มีความซับซ้อน ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสำเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือกนอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทำจากอย่างอื่นวัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิตในที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่ายและนักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจสิ่งที่เป็นตัวอย่างของแบบจำลองง่าย ๆ สำหรับการเลือกเศษส่วนแบบจำลองที่ซับซ้อนด้วยวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหารก็คืออย่าโง่เลยทำให้ดูง่าย ๆ เถอะ (KISS : Keep It Simple , stupid)
          การนำเสนอสื่อการเรียนการสอน การกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ง่ายแก่การเข้าใจสื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงได้บ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ที่ถูกที่สุดที่ทำให้ผู้เรียนรู้จุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมควรอย่างไรก็ตามข้อความจำคือการสื่อราคาย่อมเยาว์ที่ผลิตไม่ดีทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกวิธีการสื่อวิธีการเลือกวัสดุอุปกรณ์ระบบประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าริเริ่มในเฝ้าระวัง
          ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อที่ในการผลิตควรจะประกอบไปด้วยใครบ้างผู้ออกแบบต้องริเริ่มเฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิตเป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาการภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตามการผลิต

          ประเภทของสื่อ
สื่อสามารถจำแนกได้ 4 ประเภทคือ (audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกันและสัมผัสผู้ออกแบบสามารถเลือกสีที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่าง ๆ สำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่าง ๆ ทั้ง 4  ประเภทและตัวอย่างที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
               1. สื่อทางหูได้แก่เสียงของผู้ฝึกปฏิบัติการทางเสียงการเตรียมผู้แผ่นเสียงวิทยุกระจายเสียง
               2. สื่อทางตาได้แก่กระดานชอล์คกระดานแม่เหล็กกราฟคอมพิวเตอร์วัสดุต่าง ๆ ที่เป็นของจริงรูปภาพแผนภูมิกราฟภาพถ่ายจำลองสิ่งที่แจกให้ฟิล์มสไลด์แผ่นใส
               3. และทางใต้ได้แก่เทปวิดีโอทีวีวงจรปิดโปรแกรมโสตทัศน์วัสดุ สไลด์เทปภาพยนตร์เสียงในฟิล์มทีวีทั่วไปเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่นดิจิทัล วิดีโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)
               4. สื่ิอทางสัมผัส ได้แก่วัสดุของจริงแบบทดลองในการทำงานเช่นผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
          ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงความจำเป็นในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภทตารางที่ 16จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อ 4 ประเภท ตารางที่ 17แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
           การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ
          การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสีบางครั้งเกิดขึ้นพร้อมกันในบางเวลาจะเลือกวิธีการและเลือกสื่อที่จำเป็นในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird :180)เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นถนนทางหลวง (Highway) ที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง(จุดประสงค์)และสื่อ(วัสดุฝึก)เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมบนทางหลวงเช่นสัญญาณแผนที่ซึ่งทำให้เกิดการเดินทางที่สะดวกขึ้น
          วิธีการเป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความเฉพาะมากเป็นที่การเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน joyce and weil (1980) เรียกสิ่ง เรียกว่าแบบจำลองการสอน (Model of  teaching ) แม่สลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และระดับบทเรียนมากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร

ตารางที่ 16 ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางชนิด








         
          ตารางที่ 17  ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน










การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
          สื่อเป็นพิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่ 4 เป็นคำที่ใช้อ้างอิงแบบของการเรียนการสอนจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนนั้นในทางตรรกะและเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์และส่วนที่เป็นวัสดุสำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์พื้นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์อาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
          การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำตามหลัง หรือทำไปพร้อมกันกับการตกลงใจเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วไปแล้วจะทำตามหลังมีทางการป้องกันการบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของ 4 อาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ในสมัยก่อนและอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
           ในตอนนี้จะกล่าวถึงการแบบวิธีการสื่อ ออกเป็นสารประเภทเชิงวิชาการสื่อดั้งเดิมและเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ในด้านวิธีการดำเนินสุดโดยทั่วไปอาจจะรวมกันแต่จะใช้สื่อร่วมกัน ส่วนสื่อเดิม ๆ จะรวมถึง สื่อโสตทัศน์ และสำหรับเทคโนโลยีใหม่ หรือสื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม และไมโครโปรเซสเซอร์ สื่อ สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุไม่ฉาย สื่อแต่ละประเภทนี้สามารถเลือกได้ในหลายรูปแบบดังแสดงในตารางที่ 18 และตารางที่ 19


แบบการเรียนรู้


แบบการเรียนรู้ (Learning Styles)

          คําว่า Learning Styles ในคําภาษาไทยใช้คําว่า ลีลาการเรียนรู้ หรือแบบการเรียนรู้ หรือวิธีการ ที่เป็นการปฏิบัติของผู้เรียนในการจัดการเกี่ยวกับการเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประ.. หลักสูตร ซึ่งแตกต่างกันไปตามสติปัญญา ลักษณะเฉพาะของผู้เรียน และสภาพแวดล้อมทางการเรียน
          แบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นความคงที่ในการตอบสนองและการใช้สิ่งเร้าในบริบท การเรียนรู้ อาจกล่าวได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยกลวิธีหรือวิธีการที่สนองตอบกับความต้องการ ของผู้เรียน โดยผู้เรียนแต่ละคนมีแบบการเรียนรู้ของตนเอง ไรซ์แมนและกราส์ซา และเดวิด เอ คอล์บ ได้นําเสนอแบบการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้

          Anthony F. Grasha and Sheryl Reichman (1980 cited in Nova Southeastern University, 2004:31) จัดผู้เรียนตามแบบการเรียนรู้ได้ 6 แบบ คือ
             1. แบบอิสระ (Independent Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้เฉพาะตนเอง แสวงหาความรู้และ ประสบการณ์ด้วยตนเอง จะเรียนรู้เนื้อหาวิชาเฉพาะที่ตนเห็นว่ามีความสําคัญ เชื่อมั่นในความสามารถการ เรียนรู้ของตนเอง แต่ก็รับฟังความเห็นของผู้อื่น
             2. แบบหลีกเลี่ยง (Avoidance Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่สนใจเนื้อหาวิชาที่จัดให้ ไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน
             3. แบบร่วมมือ (Collaboration Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ชอบที่จะทํางานร่วมกันกับผู้อื่น เรียนรู้ได้ดีด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถือห้องเรียนเป็นแหล่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาตลอดจนกิจกรรมนอกหลักสูตร
             4. แบบพึ่งพา (Dependent Style) ) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการคําบอกเล่าว่าต้องทําอะไร อย่างไรและเมื่อไร ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการรับคําสั่งหรืองานที่มอบหมาย อาจารย์และเพื่อน มีความต้องการเรียนรู้เฉพาะจากสิ่งที่กําหนดให้เรียนเท่านั้น
             5. แบบแข่งขัน (Competitive Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่จะพยายามทําให้ดีกว่าคนอื่น ผู้เรียนค้นหาความรู้โดยใช้หลักในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามที่จะทําสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ดีกว่าคนอื่น ใช้หลักในการเรียนรู้ เรียนเพื่อให้มีผลการเรียนดีกว่าเพื่อนในชั้นเรียน ต้องการรางวัลในชั้นเรียน เช่น คะแนน มีลักษณะการแข่งขันแบบแพ้ชนะ
             6. แบบมีส่วนร่วม (Participant Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมในชั้นเรียน ผู้เรียนต้องการเรียนรู้เนื้อหาวิชาในห้องเรียนและชอบที่จะเข้าชั้นเรียน แต่ไม่ จะร่วมกิจกรรมที่ไม่อยู่ในรายวิชาที่เรียน

          David A. Kolb (1995 อ้างในคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ,2543 : 19-20) จัดกลุ่มผู้เรียนตามแบบการเรียนเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
             1. แบบนักปฏิบัติ (active experimentation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดี เมื่อได้ลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้เกิดจากการกระทําควบคู่ไปกับการคิด
             2. แบบนักสังเกต (reflective observation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้จากการสังเกตปรากฏการณ์ ต่าง ๆ แล้วนํามาจัดระบบระเบียบเป็นความรู้
             3. แบบนักคิดสร้างมโนทัศน์ (abstract conceptualization) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยวิเคราะห์ และสังเคราะห์ การรับรู้ที่ได้เป็นองค์ความรู้
             4. แบบนักประมวลประสบการณ์ (concrete experience) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยการ วิเคราะห์ และประเมินด้วยหลักเหตุผล

          McCarthy (อ้างในศักดิ์ชัย นิรัญทวีและไพเราะ พุ่มมั่น, 2542 : 7-11) ได้ขยายแนวคิดของคอล์บ โดยเสนอแบบการเรียนรู้ 4 แบบ ดังนี้
             แบบที่ 1 เป็นผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ (imaginative learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส และประมวลกระบวนการเรียนรู้จากการสังเกต นําไปสะท้อนความคิดเชิงเหตุผล ผู้เรียนกลุ่มนี้มักถามถึง เหตุผลว่า ทําไม (why) ผู้เรียนมักถามว่า ทําไมต้องเรียนสิ่งนั้นสิ่งนี้ จะต้องหาเหตุผลที่จะต้องเรียนรู้ก่อน สิ่งอื่น ๆ แล้วจะเกี่ยวข้องกับตัวเขาหรือสิ่งที่เขาสนใจอย่างไร โดยเฉพาะเรื่อง ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้สึก ชอบขบคิดปัญหาต่าง ๆ ค้นหาเหตุผลและสร้างความหมายเฉพาะของตนเอง ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อ อภิปราย โต้วาที ใช้กิจกรรมกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ครูต้องให้เหตุผลก่อนเรียน หรือระหว่างเรียน
             แบบที่ 2 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (analytic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านการประมวล ข้อมูล โดยนําสิ่งที่รับรู้มาประมวลกับประสบการณ์เป็นการเรียนรู้ใหม่ ๆ ผู้เรียนกลุ่มนี้จะถามเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง คําถามที่สําคัญคือ อะไร (what) ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด (concept) หรือจัดระบบระเบียบของความคิด ผู้เรียนกลุ่มนี้มุ่งเน้นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง จะยอมรับผู้รู้จริงหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีอํานาจสั่งการเท่านั้น ผู้เรียน กุมนจะเรียนก็ต่อเมื่อรู้ว่า จะต้องเรียนอะไร อะไรที่เรียนได้ สามารถเรียนได้ดีจากการบรรยาย การ ทดลอง การทํารายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
             แบบที่ 3 เป็นผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสํานึก (common sense learners) ผู้เรียนจะรับรู้โดยผ่านกระบวนการคิคจากสิ่งที่เป็นนามธรรม กระบวนการเรียนรู้ได้จากการทดลองหรือปฏิบัติจริง มีการมองหากลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนความรู้เพื่อนําไปใช้ คําถามที่สําคัญคือ อย่างไร (how) ผู้เรียนกลุ่มนี้สนใจทดสอบ ทฤษฎีหรือปฏิบัติจริง โดยวางแผนนําความรู้ในภาคทฤษฎีที่เป็นนามธรรมไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมใน กลุ่มนี้ต้องการเป็นผู้ปฏิบัติ ใฝ่หาสิ่งที่มองเห็นว่าเป็นประโยชน์และตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นสามารถใช้ได้ในชีวิตจริงหรือไม่ สนใจที่จะนําความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง อยากรู้ว่าจะทำได้อย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนที่ควรเป็นก็คือ การทดลอง การให้ปฏิบัติจริง ทําจริงหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
             แบบที่ 4 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการปรับเปลี่ยน (dynamic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่าน รูปธรรมและผ่านการกระทํา คําถามที่สําคัญคือ ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ (If) ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยลงมือทำ ในสิ่งที่ตนเองสนใจ และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ชอบรับฟังความคิดเห็นหรือคําแนะนํา แล้วนำข้อมูลมาประมวลเป็นความรู้ใหม่ ผู้เรียนกลุ่มนี้จะมองเห็นความซับซ้อนของสิ่งที่เรียนรู้ สามารถสร้าง แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แล้วนําเสนอเป็นรูปแบบที่แปลกใหม่ การสอนผู้เรียนกลุ่มนี้จะระ แบบค้นพบด้วยตนเอง (self discovery method)

          แบบการเรียนรู้ (learning styles) เป็นเพียงการจัดกลุ่มที่มีลักษณะโดยรวมเท่านั้น ไม่อาจจําแนก ได้เฉพาะเจาะจงว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งจะจัดอยู่ในกลุ่มของแบบการเรียนแบบใดแบบหนึ่ง ดังที่การ์ดเนอะ (howard gardner) ที่ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) 8 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะและ คณิตศาสตร์ ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านการรู้จักตนเอง ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และด้านความเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสามารถใช้แบบการเรียนรู้ที่มาจากสติปัญญา หนึ่งด้านหรือสองด้านเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนมีประสิทธิผลสูงสุด โดยปกติผู้สอน ทดสอบ และการ ได้รับข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วยสติปัญญาสองด้าน คือ ภาษา (verbal/linguistic) และเหตุผล (logical mathematical) การนําแนวคิดพหุปัญญามาใช้ควรจะเป็นการใช้คุณลักษณะเด่นของสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ประการสําคัญผู้สอนต้องคํานึงอยู่เสมอว่าในชั้นเรียนหนึ่ง ๆ มี ผู้เรียนทุกแบบการเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนจําเป็นต้องใช้แบบการสอน (teaching style) ที่หลากหลายเพื่อ ตอบสนองแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ครอบคลุม ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถของตนเองเต็มตาม ศักยภาพ

          พหุปัญญา (Multiple Intelligences)
          Howard Gardner (2011) Gardner, Howard. Frames of Mind: The Theory of Multiple New York: Basic Books, 2011. ได้พัฒนาทฤษฎีพหุปัญญาโดยทฤษฎีโต้แย้งความคิดเกี่ยวกับความเก่งและปัญญาของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียงพอที่จะนําไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ที่แนวคิดเดิมเน้น มนุษย์เพียงสองด้าน คือ ด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์ได้เสนอแนวคิดว่าปัญญา หรือพหุปัญญาจะพบในทุกวิถีชีวิต การเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากตัวป้อนที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน 6 อาจจะทําได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์ หรืออาจจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่า ที่เหนือชั้นกว่า แค่จําหลักคิดได้เท่านั้น การ์ดเนอร์เสนอว่าปัญญามีอยู่ 8 ด้าน ดังต่อไปนี้
             1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence) เป็นปัญญาความสามารถในการใช้ถ้อยคํา (“word  smart")
             2. ปัญญาด้านตรรกะ - คณิตศาสตร์ (Logical-mathematical intelligence) เป็นปัญญา สามารถทางด้านจํานวนตัวเลขและเหตุผล (“number/reasoning smart”)
             3. ปัญญาด้านมิติ (Spatial intelligence) เป็นปัญญาความสามารถด้านการคิดเป็นรูปภาพ ชามารถมองเห็นโลกในรูปของภาพ และสามารถจําลองสร้างภาพนั้น ๆ ได้ (“picture stnart”)
             4. ปัญญาทางด้านดนตรี Musical intelligence เป็นปัญญาที่มีความสามารถสูงทางด้านดนตรี คือ ความสามารถและชื่นชมในเสียง ทํานองจังหวะ และสามารถผลิตสียง ทํานอง จังหวะได้ดี (“music smart”)
             5. ปัญญาด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว(Bodily-Kinesthetic intelligence) เป็นปัญญา ความสามารถพิเศษในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย และในการใช้มือเพื่อจัดกระทํากับสิ่งของ (“body smart")
             6 ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถพิเศษ ในการทํางานร่วมกับผู้อื่น มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถที่จะสังเกตรับรู้อารมณ์ ความคิดความปราถนาของ ผู้อื่น (“people smart”)
             7.ปัญญาด้านด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถ เข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ดี (“self smart”)
             8. ปัญญาด้านการเข้าใจเรื่องธรรมชาติ (Naturalist intelligence) เป็นปัญญาความสามารถสังเกต เชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (“nature smart”)
          สาระสําคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านนี้ในตน และปัญญาแต่ละด้าน สามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับใช้การได้ การ์ดเนอร์กล่าวสรุปไว้ว่า ปัญญาทั้ง 8 ด้านจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจะไม่มีกิจกรรมใดที่ใช้เฉพาะปัญญาด้านใดด้านเดียว คําแนะนําที่ดีก็คือ ไม่ทุ่มเทไปที่ ปัญญาด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่ควรจะสัมพันธ์ปัญญาหลายๆ ด้านในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา


ความสําคัญของการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล


ความสําคัญของการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล

          การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for up) คือ แนวทางการสอนที่ ประกอบด้วยการออกแบบเชิงรุก และใช้กลวิธีการเรียนการสอนแบบรวม (inclusive instructional strategis) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในวงกว้าง ครูมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive) มีความรับผิดชอบ (ressunive) และเป็นผู้สนับสนุน(upertive) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction : UDI) ให้ความสําคัญกับหลักสูตรรายวิชาต่าง ๆ เทคโนโลยี และบริการต่าง ๆ โดยทั่วไปที่จัด ให้ผู้เรียนถูกออกกแบบมาให้กับผู้เรียนส่วนใหญ่โดยเฉลี่ย, แต่ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล จะต้องขยายขอบเขต สําหรับผู้เรียน ที่มีหลากหลายลักษณะ คํานึงถึงผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาและ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในการออกแบบดังกล่าวมุ่งที่ผลิตภัณฑ์ในการศึกษาและการจัด สภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลได้มากเท่าที่จะทําได้” (Story. Mucler, and Niace, 1998)

          การออกแบบเสากลในการศึกษา
          Universal Desin (LD) เป็นการอํานวยความสะดวกสาหรับคนทุกคนโดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็น สําหรับใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นการนําหลักการ Universal Design (Up) มาใช้ในการศึกษา จึงสามารถลคอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้และสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้ที่มีความแตกต่างกัน สามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันให้ได้มากที่สุด Strangernati, Hitchcock, Hall, Meo, & et. ul :20/6 จาก มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นคาโรลาโด ได้นําแนวคิดนี้มาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนใน 2 ลักษณะ คือ Universal Design for Instruction (UDI) และ Universal Design for Learning (UDL) โดยที่ UDI เป็นการ ออกแบบการสอน รวมไปถึงวิธีการสอน การจัดเนื้อหา การประเมินผล และหลักสูตร ส่วน ULDL เป็นเรื่องที่ เกี่ยวข้องกับออกแบบสภาพการเรียนรู้หรือสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
          การออกแบบสากลในการศึกษา (Universal Desia in Education) ถูกนําไปใช้กับผลิตภัณฑ์ทางการ ศึกษาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ ตำราและอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการ รวมถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆ เช่น ห้องรับแขก ห้องเรียน อาคารสหภาพนักศึกษาห้องสมุด และหลักสูตรการเรียนทางไกล แตกต่าง จากที่พัก สําหรับบุคคลที่เฉพาะเจาะจงที่มีความสามารถในการเลือกปฏิบัติ UIDE ให้ประโยชน์แก่นักเรียนทุก คนรวมถึง ผู้ที่ไม่ได้รับที่พักที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจากโรงเรียน ส่วนต่อไปนี้แสดงตัวอย่างการใช้งานทั่วไป ในการตั้งค่าทางการศึกษา ช่องว่างทางกายภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT การสอนและบริการของนักเรียน แตกต่างจากที่พักสําหรับบุคคลที่เฉพาะเจาะจงที่มีความสามารถในการเลือกปฏิบัติ UDE ให้ประโยชน์แก่ นักเรียนทุกคนรวมถึงผู้ที่ไม่ได้รับที่พักที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจากโรงเรียน ส่วนต่อไปนี้แสดงตัวอย่างของ การใช้งานทั่วไปในการตั้งค่าทางการศึกษา : พื้นที่ทางกายภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การสอนและ บริการของนักเรียน

การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction )


การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction )

          U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการออกแบบการสอนที่ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive - การกระทําโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมากระตุ้น)  เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา (educational products (computers, websites, software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (dormitories, classrooms, student unicorn buildings, libraries, and distance learning courses). ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
          การออกแบบการเรียนการสอนนําความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอน กระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกําหนดให้ต้องระบุว่า จะเรียนอะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า การเรียนรู้ นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จาก ลักษณะนี้เองจึงทําให้เกิดแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป (generic Instruction Design model : ID model) ขึ้น (Gibbons 1981 : 5, Hannum and Hansen, 1989)
          เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนนี้ แฮนนัมและบริกส์ (Hannum and Briggs) ได้เปรียบเทียบการ เรียนการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนการสอนเชิงระบบ ดังรายละเอียดในตารางที่ 11
          ในการออกแบบการเรียนการสอน กระบวนการมีความสําคัญพอๆ กับผลิตผล เพราะว่าความ เชื่อมั่นในผลิตผลจะขึ้นอยู่กับกระบวนการ ในการที่จะมีความเชื่อมั่นในผลิตผล ต้องดําเนินตามขั้นตอนของ แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลําดับขั้นตอนของแบบจําลองการ ออกแบบการเรียนการสอน สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลําดับขั้นของภาระงานจะต้องแสดงออกมา และผลที่ ได้รับที่มีความเฉพาะเป็นพิเศษก็จะเกิดขึ้นดังรายละเอียดในตารางที่ 11
          บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ นําเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องให้คําแนะนําในการออกแบบกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา (content expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไป ผู้ออกแบบก็สามารถจัดทําได้อย่างอิสระ มากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา ผู้ออกแบบสามารถที่จะทํางานเป็นผู้ให้คําปรึกษาจาก ภายนอก และรับผิดชอบภาระงานทั้งหมด เหมือนกับเป็นคนในสํานักงาน (in-house employers) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glasgow, 1990 : 7-9) คือ
          1. ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี และเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วย ไม่จําเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านความรู้ ความชํานาญทาง เนื้อหาวิชา
          2 ผู้ออกแบบการเรียนการสอน ที่ได้รับการร้องขอให้ทํางานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมี ความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจําเป็นที่จะทํางานกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
          3. ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย ดังนั้นจึงจําเป็นต้องเลือกและทํางานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจํานวนมาก

ตารางที่ 11 เปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนการสอนเชิงระบบ
องค์ประกอบของการเรียน การเรียนการสอน
การเรียนการสอน
แบบดั้งเดิม
การเรียนการสอน การสอน
เชิงระบบ
1. กําหนดเป้าประสงค์(Setting goals)
*ตําราหลักสูตรดั้งเดิมการอ้างอิง 
  ภายใน
*การประเมินความต้องการจําเป็น
*การวิเคราะห์งาน
*การอ้างอิงภายนอก
2. จุดประสงค์ (Objectives)
*กล่าวในรูปของผลที่ได้รับรวมๆ
  หรือการปฏิบัติของครู
*เหมือนกันสําหรับนักเรียนทุกคน
*จากการประเมินความต้องการจําเป็นการวิเคราะห์/การประเมินงาน
*เลือกด้วยการพิจารณาจาก
*ความสามารถของผู้เรียนเมื่อแรกเข้าเรียน
3.จุดประสงค์ในความรู้ เฉพาะของผู้เรียน (Student's knowledge of objectives)
*ไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้า
  ต้องใช้สัญญาณจากการฟังคำ
  บรรยายและการอ่านตํารา
*บอกกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ล่วงหน้าก่อนเรียน
4.ความสามารถก่อนเข้าเรียน (Entering capability
*ไม่ต้องใส่ใจ นักเรียนทุกคนมี 
  จุดประสงค์และวัสดุอุปกรณ์/
  กิจกรรมเหมือนกันหมด
*การพิจารณา
*การกําหนดวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมแตกต่างกัน
5. ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง
(Expected achievement)
*ใช้โค้งมาตรฐาน
*มีความเป็นแบบอย่างเดียวกันสูง
6.ความรอบรู้ (Mastery)
*นักเรียนส่วนน้อยรอบรู้
  จุดประสงค์ทั้งหมด
*รูปแบบผิดพลาด
*นักเรียนส่วนใหญ่รอบรู้จุดประสงค์
  ทั้งหมด
7.ระดับและการเลื่อน
ระดับ (Grading and promotion)
*อยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบ
  กับนักเรียนคนอื่นๆ
*อยู่บนพื้นฐานการรอบรู้จุดประสงค์
8. การสอนเสริม
(Remediation)
*บ่อยครั้งที่ไม่มีการวางแผน 
*ไม่มีการเปลี่ยนแปลง 
  จุดประสงค์หรือวิธีการเรียน
  การสอน
*วางแผนสําหรับนักเรียนที่ต้องการ
  ความช่วยเหลือแสวงหาจุดประสงค์
  อื่นๆ เลือก วิธีการเรียนการสอน
9. การใช้แบบทคสอบ
*กําหนดค่าระคับ
*เฝ้าระวังติดตามความก้าวหน้าของ
  ผู้เรียน
*ตัดสินความรอบรู้ 
*วินิจฉัยความยากลําบาก
*ปรับปรุงการเรียนการสอน
10. เวลาศึกษากับความรอบ (Stidy time vs mastery)
*เวลาคงที่ : ระดับของความรอบ
  รู้หลากหลาย แตกต่างกัน
*ความรอบรู้คงที่ :เวลาหลากหลาย
  แตกต่างกัน
11.การตีความของความ ล้มเหลวที่จะไปให้ถึงความรู้
(Interpretation of failure to
reach mastery)
*นักเรียนผู้ส่งสาร
*ความการต้องการจำเป็นที่จะต้อง
  ปรับปรุงการเรียนการสอน
12. การพัฒนารายวิชา (Course of development)
*เลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อน
*ระบุจุดประสงค์ก่อนแล้วจึงจะ 
  เลือกวัสดุอุปกรณ์
13. ลําดับขั้นตอน (Sequence)
*อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและ 
  สังเขปหัวเรื่อง
*อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ต้องรู้ก่อน 
  ตามความจําเป็น และหลักการของ
  การเรียนรู้
14. การปรับปรุงการเรียน
การสอนและวัสดุอุปกรณ์ (Revision of instructional and materials)
*อยู่บนพื้นฐานของการคาดแคา 
  งาน หรือความเพียงพอ
*วัสดุอุปกรณ์ใหม่
*เกิดขึ้นเปนพักๆ
*อยู่บนพื้นฐานของการประเมิน
  ข้อมูล
*เกิดขึ้นเป็นประจํา 
15. กลยุทธ์การเรียนการสอน
(Instructional Strategies)
*พอใจให้ผ่านได้อย่างกว้างๆ
*อยู่บนพื้นฐานของความชอบ
  และความคล้ายคลึง
*เลือกที่จะให้ได้รับตามจุดประสงค์
*ใช้กลยุทธวิธีที่หลากหลาย
*อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีและวิจัย
16. การประเมินผล(Evaluation)
*บ่อยครั้งที่ไม่เกิดขึ้น: การการ
  วางแผนเป็นระบบน้อย
*ประเมินแบบอิงกลุ่ม ข้อมูลได้
  จากปัจจัยนําเข้า และ
  กระบวนการ
*การวางแผนเป็นระบบ : เกิดขึ้น
  ประจํา
*ประเมินความรอบรู้ตามจุดประสงค์
*ประเมินผลอิงเกณฑ์ข้อมูลได้จากผล
  ที่ได้รับ (ผลผลิต)
ที่มา  : W.H. Hannum  and leslirj. Briggs, "How does Instructional Systems Design Differ from Traditional Instruction,"Educational Technology 22:12-13. 1982                                          

ตารางที่ 12 งานและผลผลิตของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
ขั้นตอนและภาระ
ตัวอย่างภาระงาน
ตัวอย่างผลผลิต
การวิเคราะห์-กระบวนการของ การนิยามว่าต้องเรียนอะไร
*ประเมินความต้องการจําเป็น 
*ระบุปัญหา
*วิเคราะห์ภาระงาน 
*แฟ้มผู้เรียน 
*การพรรณนาข้อจํากัด 
*คำกล่าวของความต้องการจําเป็น
  และปัญหา
*การวิเคราะห์ภาระงาน
การออกแบบ-กระบวนการของ 
การชี้เฉพาะว่าจะเรียน
*เขียนจุดประสงค์
*พัฒนารายการของแบบทดสอบ
*วางแผนการเรียนการสอน
*ระบุแหล่งทรัพยากร
*จุดประสงค์ที่วัดได้กลุทธ์การเรียน
  การสอน
*ลักษณะเฉพาะของตัวแบบ
  (prototype specification)
การพัฒนา-กระบวนการของ
*ทํางานกับผู้ผลิต
*สคอร์บอร์ค (story board)
หน้าที่และผลิตวัสดุอุปกรณ์
*พัฒนาคู่มือ แผนภูมิ โปรแกรม
*สคริป
*แบบฝึกหัด
*คอมพิวเตอร์ช่วยการรัยนการสอน
การนำไปใช้-กระบวนการของการก่อตั้งโครงการบริษัทแห่งโลกความจริง
*การฝึกอบรมครู
*การทดลอง
*การใช้ความเห็นของนักเรียนข้อมูล
การประเมิน-กระบวนการของการตกลงใจเกี่ยวกับความเห็นผลผลของการเรียนการสอน
*บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเวลา
*ผลการแปลความแบบทดสอบ
*สำรวจผู้สำเร็จการศึกา
*ทบทวนกิจกรรม
*คำรับรอง (recormmendation)
*รายงานโครงการ
*ทบทวนตัวแบบ
ที่มา : Barbara Seels,and Zita Glasgow,Exercises in instrucnal (Columbus, Ohio : Merrill Publoshing Company, 1990), p.8.

          นับว่าเป็นเรื่องสําคัญด้วยเหมือนกัน ที่จะให้ความแตกต่างระหว่างบทบาทของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ เพราะว่าข้อกําหนดในความสําเร็จของทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน ผู้ที่เป็นนักวิจัยสนใจในแต่ละขั้นตอน ของรูปแบบทั่วไป ดังนั้น ความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้ปฏิบัติ (ID practitioner) จึงแตกต่างออกไป ความสนใจและเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3
          ผู้ออกแบบที่เป็นนักปฏิบัติ สามารถแสดงออกในแต่ละขั้นตอนจากการวิเคราะห์ไปจนถึงการ ทดลอง ขึ้นอยู่กับว่าจะพรรณนางานว่าอย่างไร ถ้างานของผู้ออกแบบระบุไว้อย่างแคบๆ แล้วผู้ออกแบบแสดง เพียงสองถึงสามขั้นตอนเท่านั้น โดยละทิ้งขั้นตอนที่เป็นผลิตผล การนําไปใช้ และการประเมินผล
          นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอน (ID remember) หรือผู้เชี่ยวชาญ (specialist) สนใจศึกษาตัว แปรและพัฒนาทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอน นักปฏิบัติการออกแบบการเรียนสอน (ID practitioner or generation) สนใจการประยุกต์งานวิจัย และทฤษฎีการพัฒนาการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ บทบาท อื่นๆ ของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอนดังแสดงไว้ในตารางที่ 3 ส่วนบทบาทของผู้ปฏิบัติการ ออกแบบการเรียนการสอนดังแสดงในตารางที่ 13
          สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน มีอายุประมาณ 30 ปี เป็นบทบาทของนักวิจัยที่จะส่งเสริม ความงอกงามในทฤษฎีของการออกแบบการเรียนการสอน และเนื่องจากว่าการออกแบบการเรียนการสอน เป็นสาขาวิชาประยุกต์ บทบาทของนักวิจัยจึงอาจดูเหมือนว่าแยกตัวออกไปตามลําพังและมีความสําคัญน้อย
สิ่งดังกล่าวนี้ ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าปราศจากกระบวนการทางทฤษฎีแล้ว สาขาวิชาก็จะเฉื่อยชาอยู่กับที่ ความมุ่งหมายของนักออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจําเป็นที่จะต้องรู้ว่าตนสามารถที่จะก้าวไกลได้ใน หนทางแห่งอาชีพของตนเอง ถ้ารับรู้วิธีการวิจัยที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอน (Seels and Glasgow, 19990 : 10)
          งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ ความชํานาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการพัฒนา ผู้จัดการ โครงการอาจจะนําทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวันสําหรับการอุตสาหกรรม (three-day หลังhon) การออกแบบไม่จําเป็นต้องเป็นทีมเสมอไป ในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ใน การทําภาระการออกแบบการเรียนการสอน

ตารางที่ 13 เปรียบเทียบความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ
แบบจําลองการออกแบบ
การเรียนการสอนทั่วไป
บทบาทของผู้วิจัย
บทบาทผู้ปฏิบัติ
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์



ขั้นที่ 2 การออกแบบ


ขั้นที่ 3 การพัฒนา

ขั้นที่ 4 การนำไปใช้

ขั้นที่ 5 ประเมินผล
*ศึกษาวิธีการระบุปัญหา 
*ศึกษาผลของคุณลักษณะของ 
*ผู้เรียน
*ศึกษาเนื้อหา
*ศึกษาตัวแปรในการออกแบบข่าวสาร
*พัฒนากลวิธีการเรียนการสอน
*ศึกษากระบวนการของทีม

*ศึกษาชาติวงศ์วรรณาของตัวแปร
  ในสิ่งแวดล้อม
*การระบุตัวแปรของการนำไปใช้
  ให้ได้ผล
*ศึกษาข้อถกเถียงที่นำไปสู่การ
  ประเมินผล
*ประยุกต์ใช้วิธีการระบุปัญหา 
*กําหนดคุณลักษณะของผู้เรียน 
*ใช้การวิจัยในเนื้อหาตามสาขาวิชา

*ให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน

*ทำงานกับผู้ผลิตในการพัฒนาสคริป
*ออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อมและ
*ตัวแปรในการเรียนการสอน



*ประยุกต์ทฤษฎีการประเมินผล
          ที่มา : Barbara Seels,and Zita Glasgow,Exercises in instrucnal (Columbus, Ohio : Merrill Publoshing Company, 1990), p.8.